![]() |
![]() |
![]() |
|||||||||||||||||||||||
ลำโพง: | |||||||||||||||||||||||||
พืชมีพิษที่ควรรู้จัก | |||||||||||||||||||||||||
ชื่ออื่น:
ลำโพงขาว, มะเขือบ้า, มะเขือบ้าดอกดำ, ลำโพงกาสลัก Witch's Thimble |
|||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ลำโพง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Thorn apple เป็นพืชล้มลุกมีพิษชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ Solanaceae ลำต้นเมื่อโตเต็มที่มีขนาดความสูงประมาณ 1-1.5 เมตร ลักษณะ ลำต้น ใบ คล้ายต้นมะเขือพวง เป็นพืชที่ขึ้น ได้ทั่วไปทั้งในพื้นที่แถบ ที่มีอากาศร้อน ร้อนชื้น เช่น ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ ประเทศที่มีอากาศหนาว เช่น ในยุโรป สหรัฐอเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเซีย และในทวีปออสเตรเลีย เป็นต้น ยกเว้นในแถบ พื้นที่ที่มีอุณหภูมิต่ำมากหรือทางแถบขั้วโลก ปัจจุบันพบว่าลำโพง ในโลกมีทั้งหมดมากกว่า 20 ชนิด ใน 2 สายพันธุ์ คือ Datura spp. กับ Brugmansia spp. และมีพันธุ์ผสมอีกมากมาย โดย เฉพาะสายพันธุ์ Brugmansia spp. ซึ่งนิยมปลูกเป็น ไม้ประดับ กันมากในประเทศแถบอเมริกาใต้ และทางยุโรป ส่วนชนิด ที่พบบ่อย ในประเทศไทยได้แก่ ลำโพงขาว ซึ่งเป็นสายพันธุ์ Datura spp. มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datura alba Nees คนทางภาคเหนือ เรียก มะเขือบ้า ลำโพงเริ่มออกดอกและ ให้ผลได้ เมื่อลำต้นสูงเพียง 1 ฟุตเท่านั้น ลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีสีเขียว ใบสีเขียวอมเหลืองอ่อน เป็นรูปหัวใจหรือรูปไข่ดอกเป็นชนิด ดอก เดี่ยว ดอกจะออกตรง บริเวณโคนก้านใบกับแขนงของกิ่ง เมื่อดอกโต เต็มที่จะบานออกมีรูป ร่างคล้ายแตร หรือเครื่องลำโพงขยายเสียง ดอกมีขนาดยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร สีนวลชั้นเดียว ลำโพง อีกชนิดหนึ่งเรียก ลำโพง กาสลัก มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Datura fastuosa Linn คนทาง ภาคเหนือเรียกมะเขือบ้าดอกดำ ซึ่งลำต้น กิ่ง ก้าน ก้านใบมีส ีม่วง เข้ม ดำมัน ส่วนใบมีสีเขียวเข้ม ขอบใบหยัก โคนใบไม่เท่ากัน ดอกมี รูปร่างเหมือนลำโพงตามชื่อ มีสีม่วง ขนาด ของดอกยาวประมาณ 12-16 เซนติเมตร ก้านดอกสั้น ดอกเมื่อโต เต็มที่จะบานออกมองเห็น คล้ายเป็นรูปแตร ชาวสวนจะ เรียก ชื่อว่า แตรนางฟ้า (angel's trumpet) ดอกมักจะซ้อนกัน 3 ชั้น เป็นส่วน ใหญ่ ถ้าเป็นพันธุ์ผสม ดอกจะซ้อนกัน 2 และ 4 ชั้น ลำโพงบางชนิดมีดอกสีขาวนวล ดอกซ้อนกัน 2-3 ชั้น ดอกลำโพง จะบานช่วงหัวค่ำ และจะหุบช่วง บ่ายของวันรุ่งขึ้นหรือวันถัดไป ลำโพงบางชนิดดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ แต่ถ้าดมใกล้ ๆ จะมีกลิ่นฉุนแรงมาก ลำโพงที่กล่าวมานี้มีผลคล้าย ผลมะเขือเปาะ บางชนิดมีลักษณะคล้ายหนามรอบผล บางชนิดเห็น เป็นปุ่ม ๆ รอบผล เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปในหลายจังหวัด ทางภาค เหนือ เช่น ตาก นครสวรรค์ และภาคกลาง เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง และกาญจนบุรี เป็นต้น ผลลำโพงเมื่อแก่เต็มที่ จะแตกออก ภายในมีเมล็ด สีน้ำตาลอมส้ม หรือสีเทาดำจำนวนมากมีผู้เคยพบเห็นลำโพง อีกชนิดหนึ่ง ขึ้นที่บริเวณดอยอ่างข่าง จังหวัดเชียงใหม่ ชื่อ Datura stramonium ลำโพงชนิดนี้พบได้ทั่วไปในโลก เช่น สหรัฐอเมริกา และยุโรป เป็นต้น และมักเรียกชื่อนี้ว่า Jimson weed, angel 's trumpet หรือ Jamestown weed เนื่องจากมีการ บันทึกทาง การแพทย์เป็นครั้งแรก ที่เมือง Jamestown รัฐ Verginia ในปี ค.ศ.1676 หรือ พ.ศ. 2219 แต่เดิมคนสมัยก่อนใช้ลำโพงเป็นยาสมุนไพร ช่วยระงับความเจ็บปวด (anodyne) และแก้อาการเกร็ง (antispamodic) หรือมวนเป็นบุหรี่ใช้สูบรักษาโรคหืด หรืออาจนำเมล็ดมาตำให้ละเอียด และแช่ในน้ำมันพืช น้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา เมื่อครบ 7 วันนำมากรอง น้ำมันที่ได้นำมา ใช้ทาแก้ อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเคล็ดขัดยอกได้ดี ในประเทศ สหรัฐอเมริกามีรายงานเกี่ยวกับการได้รับพิษจากกินลำโพงค่อนข้าง บ่อย เนื่องจากพืชชนิดนี้มีแพร่กระจายอยู่ในหลาย ๆ พื้นที่ของประเทศ เช่น บริเวณไร่นา เขตใกล้ภูเขา พื้นที่ลุ่มทั่วไป บริเวณที่รกร้าง ข้างกองขยะที่ทับถมด้วยสิ่งปฏิกูล ริมถนนหนทาง เด็ก ๆ มักได้รับพิษโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่นนำดอกลำโพงหยิบ ใส่ปากและเคี้ยวเล่น หรือดูดเล่นตรงบริเวณเกสร ของดอกลำโพง เข้าปาก ส่วนวัยรุ่นมักได้รับพิษจากการกินเมล็ดลำโพง ที่ผสมกับน้ำ หรือเครื่องดื่ม หรือได้รับคำแนะนำจากเพื่อนให้ทดลองกิน หรือผสม สารเสพติดชนิดอื่น ๆ เช่นกัญชา (marijuana) และ โคเคน (cocaine) เป็นต้น
|
|||||||||||||||||||||||||
ดอกลำโพงขาว กำลังจะบาน | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ผลลำโพงหรือมะเขือบ้า มีหนามแหลมรอบผล | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ลำโพงกาสลัก ดอกมี 2 ชั้น สีม่วงมีกลิ่นหอม | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ผลลำโพงหรือมะเขือบ้าบางชนิด ผลมีหนามตะปุ่มตะป่ำเล็กน้อยรอบผล | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ลำโพงพันธุ์ผสม ดอกมี 2 ชั้น สีขาว | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ผลลำโพงชนิดมีหนามแหลมรอบผลเมื่อผลโต
เต็มที่ เปลือกจะแตกออกและเห็นเมล็ดอยู่ภายใน |
|||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
ดอกลำโพงแห้ง มีสีน้ำตาล โคนในสมัยก่อนนำมาใช้ม้วนสูบแก้รคหอบหืด | |||||||||||||||||||||||||
![]() |
|||||||||||||||||||||||||
เขียนและเรียบเรียงโดย
: |
|||||||||||||||||||||||||
เมล็ดลำโพง หรือเมล็ดมะเขือบ้า มีสีและขนาดคล้ายกับเมล็ดมะเขือเปาะ และมีขนาดไล่เลี่ยกัน | |||||||||||||||||||||||||